1. โรงเรียนประถมในหมู่บ้าน Gulu ในภาคตะวันออกเฉียงใต้ ประเทศจีน โรงเรียนประถม BANGO มีจำนวนเด็กนักเรียน 49 คน มาจากหลายๆ หมู่บ้าน เด็กนักเรียนต้องเดินทางผ่านเส้นทางภูเขา หน้าผาสูงชัน นานกว่า 5 ชั่วโมง ซึ่งขนาดของความกว้างของถนนเพียง 1 ฟุตเท่านั้นเอง ต้องเดินทางเป็นทางขึ้น-ลงภูเขา หน้าผาสูงชัน และเต็มไปด้วยหินแทบทั้งนั้น ต้องเดินลัดเลาะตามเทือกเขาที่คดเคี้ยว และทางแคบๆ ซึ่งนับว่าอันตรายที่สุด! โรงเรียนแห่งนี้ยังถูกยกให้เป็น “The Most Remote School In The World” (โรงเรียนที่ไกลที่สุดของโลก) อีกด้วยคะ
2.ในมณฑลเสฉวน ประเทศจีน เด็กนักเรียนในหมู่บ้าน Zhang Jiawan นี้ต้องเดินทางโดยการปีนป่ายบันไดไม้ ไปโรงเรียนที่ตั้งอยู่บริเวณหน้าผาที่ 2,800 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล โดยที่ไม่มีหลักประกันรองรับอุบัติเหตุใดๆ ทั้งสิ้น เด็กนักเรียนจะอยู่ที่โรงเรียนเป็นเวลา 1 สัปดาห์ และจะกลับบ้านในทุกวันหยุดของสัปดาห์ ต่อมาบันไดไม้ก็ถูกรับปรุงเป็นบันไดเหล็กซึ่งมีความแข็งแรงกว่า ทำให้มีความปลอดภัยขึ้นมาอีกขึ้นหนึ่ง
3.ประเทศอินเดีย เด็กต้องเดินทางเพื่อจะไปโรงเรียนประจำ โดยใช้เส้นทางผ่านเทือกเขาหิมาลัย
4.Lebak ในประเทศอินโดนีเซีย เด็กนักเรียนต้องเดินทางข้ามแม่น้ำ โดยข้ามสะพานแขวนที่ชำรุดเสียหาย อันตรายเกิ๊น >,< แต่หลังจากที่ข่าวออกมา ทางการของอินโดนีเซียก็ได้ทำการสร้างสะพานที่ทำจากเหล็กแบบแข็งแรงขึ้นมาใหม่ เพื่อให้เด็กนักเรียนในหมู่บ้านนี้เดินทางไปโรงเรียนได้อย่างปลอดภัย
5. ประเทศโคลัมเบีย เด็กนักเรียนในหมู่บ้านห่างไกล ต้องเหาะเหินบนสายเคเบิ้ลผ่านหุบเขา ยาวกว่า 800 เมตร ที่อยู่เหนือแม่น้ำ Rio Negro เพื่อข้ามฝั่งไปยังโรงเรียน
6. Riau ในประเทศอินเดีย เด็กนักเรียนต้องพายเรือแคนูผ่านแม่น้ำสายหลักไปยังโรงเรียนของพวกเขา
7. ประเทศอินเดีย เด็กนักเรียนเดินทางผ่านหุบเขา ข้ามรากต้นไม้ใหญ่ ไปโรงเรียน RCLP ในหมู่บ้าน Nongsohphan ซึ่งเกิดจากการที่คนในหมู่บ้านนั้นปลูก เพาะบ่ม เสริมสร้างรากต้นไม้ เมื่อวลาผ่านไปรากต้นไม้ก็งอกงามกลายมาเป็น “สะพานแห่งชีวิต”
8.โรงเรียน Dujiangyan มณฑลเสฉวน ในประเทศจีน เด็กนักเรียนต้องเดินทางข้ามสะพานไม้ที่อยู่ในสภาพหัก-ชำรุดมาก ที่เกิดจากภัยภิบัติธรรมชาติ พร้อมบรรยากาศที่เหน็บหนาวจากหิมะตก เพื่อเดินทางไปยังโรงเรียน
9.นักเรียนจำนวน 80 คน ต้องเดินทางระยะไกลแถมยากลำบากกว่า 125 ไมล์ (กว่า 40 กม.) ผ่านเทือกเขาของนักเรียนเพื่อเดินทางไปโรงเรียนประจำ (กินนอน) ในมณฑล Pili ประเทศจีน อีกทั้งยังต้องข้ามผ่านแม่น้ำถึง 4 สาย ซึ่งระยะการเดินทางของเด็กๆ โรงเรียนนี้รวมแล้วใช้เวลาถึง 2 วัน!!
10.ในเกาะสุมาตรา ในประเทศอินโดนีเซีย ในทุกๆ วัน เด็กนักเรียนกว่า 20 คนต้องเดินทางไปโรงเรียนใน Pinto Gabang โดยการไต่เชือก (ที่จริงแล้วเป็นสะพานข้ามแต่ชำรุดอย่างหนักจากการที่ฝนตกอย่างหนัก) สูงกว่า 30 ฟุต (9.1เมตร) ข้ามแม่น้ำปาดัง หลังจากข้ามแม่น้ำแล้วก็ต้องเดินทางไกลอีก 11 ไมล์ผ่านป่ากว่าจะไปถึงโรงเรียน ..
11.โรงเรียนประถมในจังหวัด Rizal ทางตะวันออกของกรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ เด็กนักเรียนต้องเดินทางไปโรงเรียนโดยการใช้ห่วงยางอันใหญ่นั่งข้ามฝั่งไปยังโรงเรียน (อันตรายไปไหมเนี่ยหนูๆ >,<) ซึ่งตอนนี้ได้ร้องเรียนรัฐบาลท้องถิ่นให้ทำขึ้นสะพานแขวนขึ้น เพื่อที่จะทำให้เด็กๆ เดินทางข้ามแม่น้ำไปเรียนได้เร็วขึ้นและปลอดภัยมากขึ้นกว่านี้
12.โรงเรียน Macheng ในมณฑลหูเป่ย์ ประเทศจีน มีจำนวนนักเรียนมากกว่า 5000 คน แต่อุปกรณ์โต๊ะเรียนนั้นมีแค่ 3000 ตัวเท่านั้น ไม่เพียงพอแก่เด็กนักเรียน ทำให้เด็กนักเรียนที่เหลือกว่า 2000 คนนั้นต้องแบกโต๊ะเรียนของพวกเขา ซึ่งอาจจะเป็นของตั้งแต่รุ่นพ่อ-แม่นั้นแบกไปโรงเรียนเองในวันเปิดเทอมเรียนวันแรก
13.ในเขตปกครองตนเอง มณฑล Guangxi Zhuang ภาคตะวันตกเฉียงใต้ของจีน เด็กนักเรียนที่อาศัยอยู่ในแทบภูเขาต้องเดินทางระยะไกลมากๆ เพื่อจะมายังโรงเรียนที่อยู่ในหมู่บ้านซึ่งอยู่ห่างไกลบ้านของพวกเขา เด็กๆ ส่วนใหญ่จะประจำอยู่ที่โรงเรียนเป็นปีๆ และจะได้กลับบ้านในช่วงปิดเทอม ภาคฤดูร้อน หรือวันหยุดต่างๆ
14.เพื่อให้ได้ไปโรงเรียนทุกวัน เด็กๆ ในหมู่บ้านบนภูเขา ในประเทศจีนต้องเดินทางหลายร้อยเมตรผ่านหุบเขาที่ลึกชัน โดยใช้รถเคเบิ้ลที่ทำกันขึ้นมาเองในหมู่บ้าน ซึ่งก่อนหน้านี้ต้องการเดินทางโดยการเดินเท้าและใช้เวลา 5 ชั่วโมง
15.เด็กนักเรียนชาวเวียดนาม ต้องว่ายน้ำข้ามแม่น้ำที่มีความกว้าง 15 เมตร มีความลึกกว่า 20 เมตร ถึงวันละ 2 ครั้ง โดยเด็กๆ แก้ผ้าเปลือยเปล่าว่ายข้ามแม่น้ำ นำชุดนักเรียน หนังสือ กระเป๋าใส่ไว้ในถุงพลาสติกกันเปียกน้ำ
การศึกษาไม่ว่าจะประเทศไหนๆ ล้วนก็ให้ความสำคัญเหมือนกันทั้งนั้น แค่ขึ้นอยู่กับว่าประเทศไหนจะมีการพัฒนาในเรื่องนี้มากน้อย หรือรวดเร็วมากกว่ากัน อย่างที่เราๆ เคยเห็นกันในประเทศที่ความเจริญเข้าถึง การศึกษานั้นก็มาเต็มรูปแบบทั้งสื่อการเรียนการสอน การบูรณาการการเรียน เครื่องไม้เครื่องมือ อุปกรณ์มีครบครัน รวมถึงที่ตั้งของโรงเรียนก็มักจะเป็นที่กลางใจเมือง หรือมีการเดินทางที่สะดวกสบาย แต่ในบางประเทศ บางพื้นที่ที่ความเจริญเข้าไม่ถึง อย่าเพิ่งพูดถึงเรื่องอุปกรณ์การเรียน หรือสื่อการสอนเลย แค่การเดินทางก็ลำบากสุดๆ แล้วเหมือนกัน แต่ด้วยความที่เด็กๆ และครอบครัวเห็นเรื่องการศึกษาเป็นเรืองสำคัญ ถึงลำบากแค่ไหนก็ยอม ..
ขอบคุณข้อมูล boredpanda
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น